กล่องพัสดุขนาดเท่าไหร่ดีนะ???
ส่งของเล็กๆน้อยๆแต่กลัวแตกหัก
ไปจนถึงของใหญ่ๆหนักๆ แต่ไม่รู้จะใส่กล่องอะไรดี
เรามาดูในบทนี้กันเลยย
สำหรับบทนี้ เราจะมาพูดถึงขนาดของกล่องพัสดุแต่ละไซส์กันนะคะ
ไปจนถึงของใหญ่ๆหนักๆ แต่ไม่รู้จะใส่กล่องอะไรดี
เรามาดูในบทนี้กันเลยย
สำหรับบทนี้ เราจะมาพูดถึงขนาดของกล่องพัสดุแต่ละไซส์กันนะคะ
เราจะยกตัวอย่างจากกล่องพัสดุของไปรษณีย์นะคะ
เนื่องจากตัวกล่องของไปรษณีย์จะค่อนข้างแข็งแรงกว่า
และจากภาพ กล่องของไปรษณีย์จะแตกต่างกับกล่องที่มีวางขายทั่วไป
เนื่องจากระบบฝาปิดกล่องจะเป็นแบบครอบ และจะมีตัวล็อคอีกทีค่ะ
ซึ่งจะทำให้ตัวกล่องแข็งแรง และป้องกันการกดทับได้ดีกว่ากล่องทั่วไปที่เป็นลักษณะฝาปิดประกบกัน
(เราเรียกไม่ถูก ที่เป็นปีกฝากล่องสองข้างมาชนกัน)
ซึ่งแบบในภาพแรกนั้น เราใช้บ่อยที่สุดค่ะ
(เราเรียกไม่ถูก ที่เป็นปีกฝากล่องสองข้างมาชนกัน)
ซึ่งแบบในภาพแรกนั้น เราใช้บ่อยที่สุดค่ะ
กล่องพัสดุ แบบ 1 |
กล่องพัสดุแบบที่ 1
ส่วนใหญ่จะใช้ใส่ของทั่วไปที่มีขนาดไม่ใหญ่มากค่ะ แต่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากอยู่(เคยส่งของหนัก 12 กิโล เลือกใช้กล่องขนาด ฉ. ก็ยังรับไหวนะคะ อิอิ) ส่วนใหญ่ เวลาขายของออนไลน์ จะใช้กล่องพัสดุขนาดประมาณนี้ซะส่วนใหญ่ค่ะ
ส่วนใหญ่จะใช้ใส่ของทั่วไปที่มีขนาดไม่ใหญ่มากค่ะ แต่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากอยู่(เคยส่งของหนัก 12 กิโล เลือกใช้กล่องขนาด ฉ. ก็ยังรับไหวนะคะ อิอิ) ส่วนใหญ่ เวลาขายของออนไลน์ จะใช้กล่องพัสดุขนาดประมาณนี้ซะส่วนใหญ่ค่ะ
กล่องพัสดุประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะไว้ใส่ของที่มีขนาดใหญ่(และเยอะ)ค่ะ 5555 เช่น กรอบรูปใหญ่ๆ notebook หรือส่งของทีละมากๆ เน้นปริมาณ
จริงๆ กล่องทั้งสองแบบสามารถใส่ของได้เหมือนกันค่ะ 5555(เอ้าาา แล้วจะแยกประเภททำไมเนี่ยย) แต่ส่วนใหญ่ หากใช้กล่องพัสดุแบบที่ 2 นั้น อาจจะต้องเสียค่าบริการรัดเครื่องของไปรษณีย์ เพราะอย่างกล่องขนาดเบอร์ 4-6 นั้นจะมีขนาดใหญ่มาก หากเราใช้เชือกเส้นเล็กๆมัด อาจจะทำให้ตัวกล่องขาดได้เนื่องจากเชือกบาด(ในกรณีที่ของมีน้ำหนักมาก) หรือหากเรามีเชือกที่หนาแน่น เราอาจจะมัดไปเองก็ได้ค่ะ จะได้ประหยัดและเซฟต้นทุนตรงนี้ด้วยเนอะ
และกล่องแบบที่สอง หากส่งไปต่างจังหวัด บางครั้งลูกค้าปลายทางอาจต้องมารับของที่ไปรษณีย์สาขาใกล้บ้านแทนค่ะ เนื่องจากบางครั้งกล่องมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก บางพื้นที่รถยนต์อาจไม่สามารถเข้าไปนำจ่ายได้ พนักงานจึงต้องใช้มอเตอร์ไซค์ไปนำจ่าย แต่ด้วยความที่กล่องมีขนาดใหญ่มาก อาจไม่สะดวกต่อการนำจ่ายค่ะ
สำหรับใครที่อยากเซฟภาพเก็บไปดู เราทำเป็นไฟล์ไว้ให้อยู่ในไฟล์เดียวกันแล้วจ้า
จะได้ดูกันง่ายๆเนอะ ^^ ภาพคมชัดระดับHD (เว่อร์ไปปป)
จิ้มตรงนี้เล๊ยย
***การส่งของที่ไปรษณีย์ ไม่จำเป็นต้องใช้กล่องพัสดุของไปรษณีย์เสมอไป
***หากเป็นของที่น้ำหนักเบา เช่นสายชาร์จ อุปกรณ์พลาสติกเล็กๆ แผ่นสติกเกอร์ หรือของที่ไม่แตกหักเสียหาย เราสามารถนำกล่องของเราที่มี หรือซื้อตามร้านขายกล่องเหมาได้ในราคาที่ประหยัดกว่าค่ะ
บทต่อไป เราจะมาพูดเรื่องขนาดของซองกันมั่งนะจ๊ะ :)
ขอขอบคุณรูปภาพจากไซต์ thailandpost ค่ะ
จริงๆ กล่องทั้งสองแบบสามารถใส่ของได้เหมือนกันค่ะ 5555(เอ้าาา แล้วจะแยกประเภททำไมเนี่ยย) แต่ส่วนใหญ่ หากใช้กล่องพัสดุแบบที่ 2 นั้น อาจจะต้องเสียค่าบริการรัดเครื่องของไปรษณีย์ เพราะอย่างกล่องขนาดเบอร์ 4-6 นั้นจะมีขนาดใหญ่มาก หากเราใช้เชือกเส้นเล็กๆมัด อาจจะทำให้ตัวกล่องขาดได้เนื่องจากเชือกบาด(ในกรณีที่ของมีน้ำหนักมาก) หรือหากเรามีเชือกที่หนาแน่น เราอาจจะมัดไปเองก็ได้ค่ะ จะได้ประหยัดและเซฟต้นทุนตรงนี้ด้วยเนอะ
และกล่องแบบที่สอง หากส่งไปต่างจังหวัด บางครั้งลูกค้าปลายทางอาจต้องมารับของที่ไปรษณีย์สาขาใกล้บ้านแทนค่ะ เนื่องจากบางครั้งกล่องมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก บางพื้นที่รถยนต์อาจไม่สามารถเข้าไปนำจ่ายได้ พนักงานจึงต้องใช้มอเตอร์ไซค์ไปนำจ่าย แต่ด้วยความที่กล่องมีขนาดใหญ่มาก อาจไม่สะดวกต่อการนำจ่ายค่ะ
สำหรับใครที่อยากเซฟภาพเก็บไปดู เราทำเป็นไฟล์ไว้ให้อยู่ในไฟล์เดียวกันแล้วจ้า
จะได้ดูกันง่ายๆเนอะ ^^ ภาพคมชัดระดับHD (เว่อร์ไปปป)
จิ้มตรงนี้เล๊ยย
***การส่งของที่ไปรษณีย์ ไม่จำเป็นต้องใช้กล่องพัสดุของไปรษณีย์เสมอไป
***หากเป็นของที่น้ำหนักเบา เช่นสายชาร์จ อุปกรณ์พลาสติกเล็กๆ แผ่นสติกเกอร์ หรือของที่ไม่แตกหักเสียหาย เราสามารถนำกล่องของเราที่มี หรือซื้อตามร้านขายกล่องเหมาได้ในราคาที่ประหยัดกว่าค่ะ
บทต่อไป เราจะมาพูดเรื่องขนาดของซองกันมั่งนะจ๊ะ :)
ขอขอบคุณรูปภาพจากไซต์ thailandpost ค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น