(2)พกง อะไรยังไงเอ่ย : อยากส่งพกง ต้องเขียนอะไรบ้าง


หลายคนเริ่มอยากจะส่งแบบพกง กันแล้วใช่ม๊าาา
แต่เดี๋ยวก่อน...ทำไมมันมีแบบฟอร์มเยอะแยะดูยุ่งยากมากมายจังเลยอ้ะ!?!?!?
แค่เห็นก็ตาลายแหล่วววว

จริงๆมันแค่ดูเยอะค่ะ แต่ไม่ยากเลยจริงๆน๊าา
มามะๆ เดี๋ยวบทนี้เราจะสอนขั้นตอนการกรอกเอกสารการส่งแบบพ.ก.ง
แบบชนิดที่ว่าไปถึงไปรษณีย์ปุ๊บ แค่ขอแบบฟอร์มกับพนักงาน
แล้วก็กรอกได้อย่างโปรเฟสชันแนลกันเลยทีเดียว

แบบฟอร์มพกง ทั้งหมดที่เราจะต้องเขียนกัน มีทั้งหมดสองอย่างด้วยกันค่ะ

ว่าแล้วก็มาดูรูปกันก่อนเล๊ยย
แบบฟอร์มพกง
แนะนำให้เขียนกดน้ำหนักหน่อยนะคะ เพราะมีcopy 3ชั้นแน่ะ
1.วันที่เราทำการฝากส่งค่ะ(ตรงนี้หากเรานำแบบฟอร์มพกง มาเขียนที่บ้าน เราอาจจะเว้นตรงนี้เเล้วค่อย
   ไปเขียนวันที่ฝากส่งก็ได้ค่ะ)

2.รหัสไปรษณีย์ต้นทางที่เราไปส่งของค่ะ

3.ชื่อ - ที่อยู่ผู้ฝากส่ง

4.ชื่อ-ที่อยู่ผู้รับ(แนะนำว่าควรเป็นชื่อจริงตามบัตรประชาชนค่ะ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกเวลาสืบสวนในกรณีของหายค่ะ)

5.ชื่อ+รหัสไปรษณีย์ปลายทางที่ผู้รับ(ลูกค้า)สะดวกไปรับของค่ะ

6.จำนวนเงินเรียกเก็บที่ต้องการให้ลูกค้าจ่ายค่ะ(เดี๋ยวจะสอนวิธีคำนวณต้นทุนในบทถัดไปจ้า)

7.ประเภทของธนาณัติที่จะให้ลูกค้าส่งกลับมาค่ะ
    หากเลือกเป็นแบบธรรมดา = จะได้ช้าหน่อย แต่ค่าบริการฟรี
    หากเลือกแบบEMS = จะได้ธนาณัติไม่เกิน2วันนับจากที่ลูกค้าได้ทำการจ่ายเงินแล้ว แต่จะเสียค่า
    บริการโดยทางไปรษณีย์ปลายทางที่ทำธนาณัติจะทำการหักค่าบริการจากจำนวนเงินที่เราเรียกเก็บ
    จากลูกค้าค่ะ(เช่น เรียกเก็บ3000บาท ก็อาจจะโดนหักประมาณเกือบ50บาทค่ะถ้าจำไม่ผิด)

8.ในกรณีลูกค้าไม่มารับของ จะเลือกละทิ้ง หรือทำการฝากส่งคืนโดยชำระค่าฝากส่งครึ่งหนึ่งก็ได้(หากส่งพกง แบบEms ไม่ต้องชำระต่าฝากส่งคืน แต่ถ้าเลือกส่งแบบพัสดุธรรมดาพกง ต้องเสียค่าฝากส่งคืนในราคาครึ่งนึงของเรตน้ำหนักไม่รวมค่าธรรมเนียมที่จ่ายในตอนแรกค่ะ)

9. จำนวนเงินรับประกันที่เราต้องการรับประกันในกรณีกลัวของสูญหายค่ะ ซึ่งตรงนี้ก็จะมีค่าบริการเพิ่มเติมตามจำนวนวงเงินรับประกันค่ะ โดยที่500แรก ค่าบริการจะอยู่ที่20บาท และ500ถัดไปเพิ่มทีละ5บาทค่ะ

10. ลงชื่อผู้ฝากส่ง

11. หากต้องการส่งแบบEMS พกง ก็ติ๊กที่EMS ค่ะ แต่หากต้องการส่งเป็นพัสดุธรรมดา ก็ติ๊กที่พัสดุธรรมดาค่ะ(แต่หากส่งเป็นLogidpost ไม่ต้องติ๊กก็ได้ค่ะ เพราะLogispost จะมีแบบฟอร์มที่ต้องกรอกอีกฉบับอยู่แล้วค่ะ ซึ่งไว้เราจะค่อยอธิบายในบทถัดๆไปน๊า)

อ้าว แค่นี้เอง จบซะแล้วเหรอ

5555 เดี๋ยวก่อนค่ะ ยังมีอีกอย่างที่เราต้องกรอกเลยน๊าา จำเป็นสุดๆ ไม่งั้นไม่ได้รับเงินน๊าา


ซองนี้จะเป็นซองที่ต้องส่งกลับมาหาผู้ฝากส่งค่ะ เพราะเป็นซองที่จะแนบธนาณัติมาด้วยยย
เพราะฉะนั้น ต้องจ่าหน้าให้ถูกต้องครบถ้วน ห้ามผิดเลยน๊าา
ส่วนจะจ่าหน้าเป็นชื่อใคร ก็ต้องเป็นชื่อ+ที่อยู่คนที่จะต้องเป็นฝ่ายรับเงิน(ผู้ส่งของ) ซึ่งก็คือผู้ขายนั่นเอง(ที่อยู่เดียวกับข้อ3ตามรูปด้านบนค่ะ)  อย่าเผลอใส่ผิดเป็นชื่อที่อยู่ลูกค้าที่เป็นคนรับของละ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าลูกค้าได้ทั้งของ แถมเงินก็ไม่ต้องจ่ายด้วย 555


บทต่อไป เราจะมาดูวิธีการคำนวณค่าฝากส่งแบบพกง กันค่าาา คลิก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบเสร็จหาย ทำไงดี!?!?!?

ขั้นตอนการดำเนินงานของEms(ศป.)

สถานะขึ้นว่ารับของแล้ว แต่อยากได้หลักฐานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำไงดี?