(3)พกง อะไรยังไงเอ่ย : คำนวณราคาค่าส่ง พกง ยังไงดีเนี่ยย


สำหรับบทนี้ เราจะพูดถึงวิธีการคำนวณค่าฝากส่งพกง
แต่เราจะยกตัวอย่าง พกง แบบEMS กันนะคะ
ที่เลือกแบบEMS เพราะว่า ถ้าเราเข้าใจวิธีนี้แล้ว เราสามารถนำไปคำนวณได้หมดเลย
เพราะการฝากส่งแบบพกง นั้น ค่าธรรมเนียมจะเท่าๆกัน ต่างกันที่ค่าฝากส่งแต่ละวิธีแค่นั้นเอง

จะต่างกันยังไง มาดูได้เลยยย


วิธีคิดค่าบริการ

การส่งEMSพกง ทุกชิ้น จะต้องมีค่าปฏิบัติการซึ่งเป็นราคาตายตัวเลยอยู่ที่ 40 บาท/กล่อง
ส่วนค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินนั้นจะอยู่ที่

1000บาทแรก  =  10 บาท
1000 ต่อไป = เพิ่มทีละ 2 บาท

บวกด้วยVat 7%

งงใช่ไหมคะ 5555
มาดูตัวอย่างกันก่อนๆๆๆ

สมมติลูกค้าอยากให้เราส่งของแบบEMS พกง โดยที่สินค้าตัวนั้นราคาประมาณ 3000 บาท
และมีน้ำหนักทั้งหมดรวมกล่องพัสดุแล้วอยู่ที่ 800 กรัม
แล้วเราจะคำนวณต้นทุนอย่างไรดีละ???

โอเค อันดับแรกเรามาดูราคาค่าฝากส่งEMSตามน้ำหนักกันก่อนนะคะ
800 กรัม = 67บาท(ตรงนี้แหละค่ะ ที่แตกต่าง ซึ่งหากเราฝากส่งแบบพัสดุธรรมดา พกง เราก็จะคิดเรตแบบพัสดุธรรมดาค่ะ ถ้าส่งแบบLogis ก็จะคิดตามเรตLogispostค่ะ)
ค่าปฏิบัติการพกง. = 40 บาท

จะเห็นว่าตอนนี้ต้นทุนของเราจะอยู่ที่ 107บาทแล้ว
ทีนี้เรามาคำนวณค่าธรรมเนียมกันต่อเลยย

เรียกเก็บเงิน 3000 บาท
แสดงว่าจะเท่ากับ {10(ราคาที่1000บาทแรก) + 2(1000บาทต่อมา) + 2(1000บาทต่อมา)} + 7%
ได้ว่า 14.98 บาท

ดังนั้น ต้นทุนในการส่งEMSแบบ พกง ชิ้นนี้ จะอยู่ที่
67 + 40 + 14.98 = 121.98 บาทนั่นเอง

เพราะฉะนั้น หากเราไม่อยากรับภาระต้นทุนในการฝากส่งตรงนี้
เราสามารถบวกค่าฝากส่งเข้าไปในจำนวนเงินเรียกเก็บได้เลยค่ะ

เช่น จากที่เรียกเก็บ 3000 บาท
ก็จะเป็น 3121.98 บาท
แต่เลขดูไม่สวยเลย
ก็อาจจะคิดเพียวๆไปเลยที่ 3200 บาท หรือแล้วแต่ราคาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพอใจเนอะ

บทต่อไป เราจะมาอธิบายวิธีการอธิบายกับลูกค้าในการไปรับพกง นะคะ คลิก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบเสร็จหาย ทำไงดี!?!?!?

ขั้นตอนการดำเนินงานของEms(ศป.)

สถานะขึ้นว่ารับของแล้ว แต่อยากได้หลักฐานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำไงดี?