รอจ่าย ณ ไปรษณีย์ คืออะไรกันนะ (ต่อ)


ข้อดีของการรอจ่าย

1.ได้ของไว เพราะพนักงานไปรษณีย์ไม่ต้องออกไปนำจ่ายเองจึงไม่ต้องเสียเวลาคัดแยกพัสดุ เพราะเวลาพนักงานไปรษณีย์ออกไปนำจ่าย เขาจะไม่ได้แยกนะคะว่าของชิ้นนี้มาก่อนต้องไปส่งก่อน แต่เวลาพนักงานไปนำจ่าย เขาจะเอาของใส่กระเป๋าใบใหญ่ๆไปและพ่วงใส่มอเตอร์ไซต์ค่ะ บวกกับเอากล่องวางซ้อนๆๆกันไป พอวางซ้อนกล่องไหนอยู่ข้างบนก่อนหรือสะดวกนำจ่ายก่อนก็จะนำไปจ่ายก่อน คือพนักงานแต่ละคนก็จะไปนำจ่ายตามโซนที่แต่ละคนประจำ และบางครั้งของที่ส่งก่อน แต่ถุงเมล์(กระสอบ)ที่มาจากต้นทางนั้นมาถึงพร้อมกัน พนักงานก็จะหยิบถุงใดถุงนึงมาคัดแยกอีกที ซึ่งเป็นเหตุผลว่าบางครั้งเราส่งของไปพร้อมกันสองชิ้นปลายทางเดียวกันแต่ทำไมถึงไม่พร้อมกัน ดังนั้น หากอยู่ใกล้ไปรษณีย์แต่ได้ของช้าก็อาจจะแปลกใจว่าเอ๊ะ...บ้านเราก็ใกล้ไปรษณีย์แต่ทำไมบางทียังไม่ได้รับของ เป็นต้น

2.สะดวกกับผู้ที่ไม่ค่อยอยู่บ้าน เพราะสามารถไปรับของที่ไปรษณีย์ได้เลย

3.ป้องกันเรื่องมิจฉาชีพ เช่น หากคนขายส่งของให้ผู้รับ(ซึ่งอาจป็นมิจฉาชีพ)มาแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงิน(เหมือนแบบส่งของก่อนรับเงินทีหลัง) และถ้าเขียนจ่าหน้าว่ารอจ่าย เวลาคนรับมารับของ ก็จะมีหลักฐานในการดำเนินคดีค่ะ เพราะสามารถตรวจสอบกล้องกับทางไปรษณีย์ได้

4. รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับ เพราะบางคนก็ไม่อยากให้ใครมารู้ที่อยู่ของเรา จริงไหมคะ

ข้อเสียของการรอจ่าย

1.อาจจะต้องเดินทางไปที่ไปรษณีย์เอง ทำให้เมื่อยขาเพราะการเดิน 5555555

2.ต้องเสียค่าบริการให้ไปรษณีย์ค่ะ ซึ่งค่ายริการตรงนี้พี่ๆไปรษณีย์เรียกว่า "ค่าเก็บรักษาพัสดุ" ซึ่งก็แพงมากๆเลย ประมาณ 2 บาทแน่ะ 5555

3.อาจจะได้ของช้าถ้าติดว่าวันนั้นเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์(แต่บางที่เปิดทุกวัน)

****ระยะเวลาในการไปรับพัสดุ****

บริการ EMS ทางไปรษณีย์จะเก็บไว้ให้ประมาณ 7 วัน
ส่วนลงทะเบียนและพัสดุธรรมดาประมาณ 15 วัน
หากผู้รับไม่มารับภายในเวลาที่กำหนด พัสดุจะตีกลับสู่ต้นทางค่ะ

ปล. การรอจ่าย จะต่างกับการ"ออกใบแจ้ง" เพราะการออกใบแจ้งนั้นคือการที่ผู้รับไม่อยู่บ้านในช่วงขณะที่ไปรษณีย์ไปนำจ่ายของ จึงทำให้ผู้รับต้องมาติดต่อขอรับของ(นำบัตรปชช พร้อมใบแจ้ง) ที่ไปรษณีย์เอง(ซึ้งผู้รับบางบ้านก็ไม่ได้อยู่ใกล้ไปรษณีย์ จึงอาจจะทำให้เสียเวลา และเสียค่าเดินทางเวลาไปรับค่ะ)


****ไปรับของที่มีสถานะ "รอจ่าย" ยังไงกันนะ****

1. เตรียมบัตรประชาชนที่มีชื่อตรงกับจ่าหน้าบนกล่องพัสดุหรือจดหมายไปที่ไปรษณีย์

2. หากไม่สะดวกไปรับเอง ให้ทำการ"มอบอำนาจ" โดยการถ่ายสำเนาบัตรประชาชน และเซ็นต์มอบอำนาจให้ผู้ที่จะไปรับแทน และเมื่อผู้ที่จะรับแทนไปที่ไปรษณีย์จะต้องเตรียมเอกสารไปด้วยดังนี้

2.1 บัตรประชาชนของผู้รับแทน

2.2 สำเนาบัตร + ลงลายมือมอบอำนาจของเจ้าของพัสดุ

2.3 สำเนาบัตร(ควรพกไปเผื่อไว้) ของผู้รับแทน

2.4 บัตรประชาชนตัวจริง(ควรพกไปเผื่อไว้) ของผู้มอบอำนาจ

แต่ส่วนใหญ่จะใช้เอกสารแค่ 2.1-2.3 ค่ะ

ความคิดเห็น

  1. แค่ของเราเขารับของแล้วก็ยังขึ้นอยู่ค่ะต้องทำไงคะ
    #เราเก็บปลายทาง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบเสร็จหาย ทำไงดี!?!?!?

ขั้นตอนการดำเนินงานของEms(ศป.)

สถานะขึ้นว่ารับของแล้ว แต่อยากได้หลักฐานเป็นชิ้นเป็นอัน ทำไงดี?